นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ในครึ่งปีหลังธนาคารเตรียมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนตามนโยบายกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมกับมีการเปิดตัวบริษัทนอนแบงก์ ภายในไตรมาส4เพื่อเข้าแข่งขันลดดอกเบี้ยในตลาดสินเชื่อไม่มีหลักประกัน และแก้ปัญหาหนี้นอกระบบแก่ประชาชน โดยช่วงแรกตั้งเป้าหมายจะปล่อยกู้ สินเชื่อบุคคล และนาโนไฟแนนซ์ ที่คิดดอกเบี้ยต่ำกว่าระบบ 3-5%รวมถึงให้นำหนี้นอกระบบเข้ามารีไฟแนนซ์ได้ด้วยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

“ตอนนี้ธนาคารได้มีการจัดตั้งบริษัทนอนแบงก์เรียบร้อยแล้ว ทุนจดทะเบียน 500 ล้านบาท โดยใช้ชื่อไทยว่า เงินดีดี และชื่อภาษาอังกฤษ กู้ดมันนี่ และหลังจากนี้ 1-2 เดือนจะเข้าขอใบอนุญาตประกอบกิจการจากธนาคารแห่งประเทศไทย หากไม่ติดขัดอะไรจะเริ่มได้ภายในไตรมาสสุดท้ายปีนี้ โดยปีแรกตั้งเป้าปล่อยกู้ 1 แสนราย วงเงินเฉลี่ยรายละ 8,000-100,000 บาท ซึ่งจะมีทั้งสินเชื่อบุคคล ที่คิดถูกลง 3-5% จากดอกเบี้ยในระบบ 25%  ส่วนนาโนไฟแนนซ์ ที่คิดดอกในระบบ 33% ก็จะคิด 28-30% หลังจากนั้นต้นปีหน้า ก็จะเข้ามารุกปล่อยกู้แบบดิจิทัล ผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งจะแอปต่างหากที่แยกออกจากแอป มายโม ของออมสิน เพื่อให้บริการสินเชื่อรายย่อยได้ครอบคลุมความเสี่ยงที่สูงขึ้น เป็นแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนถูกลงและเป็นธรรม” คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

สำหรับผลการดำเนินงานปี 66 ในรอบ 6 เดือน สิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิ.ย. 66 ธนาคารมีกำไรสุทธิ 17,344 ล้านบาท มีสินเชื่อรวม 2.35 ล้านล้านบาท เงินฝากรวม 2.68 ล้านล้านบาท และมีสินทรัพย์รวม 3.16 ล้านล้านบาท พร้อมกับสามารถรักษาระดับหนี้เสียที่ 2.63% ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ 172.10% และมีเงินสำรองรวมแตะระดับ 106,595 ล้านบาท นับว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของธนาคาร และมีเงินสำรองส่วนเกินมากกว่า 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งรองรับหนี้เสียได้ 8-9 หมื่นล้านบาท

นายวิทัย กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาธนาคารได้เข้าไปช่วยเหลือลูกหนี้ให้มีสถานะหนี้ที่ดีขึ้น โดยจากวัดจากลูกหนี้กลุ่มเปราะบาง ที่เข้าร่วมมาตรการแก้หนี้กับออมสินช่วงโควิดมากกว่า 1.2 ล้านราย ขณะนี้ช่วยเหลือลดลงมาแล้วเหลือ 3.5 แสนราย ในปีหน้าตั้งเป้าให้ลดลงเหลือ 2 แสนราย สำหรับลูกหนี้กลุ่มเรื้อรังนั้น ก็ยอมรับว่า มีอยู่จำนวนหนึ่งแต่ไม่มากนัก และ ไม่ได้เป็นหนี้ที่รุนแรง ซึ่งธนาคารสามารถดูแลได้ 

“แนวทางการดูแลลูกหนี้ และการปล่อยสินเชื่อผ่านนอนแบงก์ จะเป็นส่วนหนึ่งทำให้ธนาคารดำเนินธุรกิจเพื่อสังคมอย่างเต็มรูปแบบมากขึ้น โดยเข้าไปช่วยลดต้นทุนการเงินให้แก่ประชาชนและภาคธุรกิจ ผ่านการนำผลกำไรที่ได้จากการทำธุรกิจเชิงพาณิชย์มาช่วยเหลือธุรกิจเพื่อสังคม ซึ่งที่ผ่านมา ธนาคารได้ดำเนินการในหลายโครงการ และรวมถึง การออกโปรดักต์การเงินในรูปแบบต่างๆ อาทิ การทำธุรกิจจำนำทะเบียนที่อนุมัติสินเชื่อแก่รายย่อยไปกว่า 1 ล้านราย ช่วยลดดอกเบี้ยในระบบให้เหลือ 16-18% จากเดิมอยู่ที่ 24-28% การทำธุรกิจปล่อยสินเชื่อที่ดินผ่านบริษัทมีที่มีเงิน ซึ่งปล่อยสินเชื่อไปราว 2.5 หมื่นล้านบาท จำนวน 4.8 พันราย ลดดอกเบี้ยจาก 12-15% เหลือ 8-9% ตั้งเป้าปลายปีนี้จะปล่อยสินเชื่อให้ได้ 7 พันล้านบาท”

By admin